สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 22-28 มีนาคม 2564

 

ข้าว
 
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1 พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร 
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.82 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600 บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3)โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร  เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,810 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,854 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,436 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,239 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.13
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 25,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,790 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 1.08 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 836 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,713 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 843 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,724 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 11 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 522 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,055 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 526 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,051 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 4 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 522 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,055 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 526 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,051 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 4 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.7566 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
องค์การคลังสินค้า (อคส.) ทำข้อตกลงซื้อขายข้าวพื้นนุ่มกับชาวนา เพื่อทำข้าวถุงแบรนด์ “ข้าว อคส.” ล็อตแรก
ที่จะรับซื้อประมาณ 20 ตัน คาดว่าจะผลิตและจำหน่ายได้ในไตรมาส 2 ของปีนี้
นายเกรียงศักดิ์ ประทีปวิศรุต ผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า (อคส.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทยว่า อคส. ซื้อขายข้าวกับชาวนาครั้งนี้เฉพาะ
ข้าวพื้นนุ่ม เพื่อทำตลาดข้าวถุงภายใต้แบรนด์ “ข้าว อคส.” ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มจำหน่ายได้ในไตรมาส 2 ของปี 2564 นี้ ซึ่งจะจัดทำข้าวถุงขนาด 2 กิโลกรัม และ 5 กิโลกรัม โดยเป้าหมายในการจำหน่ายทั้งร้านธงฟ้า ห้างโมเดิร์นเทรด
ทั้งนี้ คาดว่าการจัดทำข้าวพื้นนุ่มในการจำหน่าย ข้าว อคส. ครั้งนี้จากเดิมที่จำหน่ายข้าวถุงหอมมะลิ เชื่อว่า
จะสร้างรายได้ในการขายข้าวถุงของ อคส. เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ที่มียอดรายได้อยู่ที่ 300-400 ล้านบาท ดังนั้น หลังจากนี้ อคส. จะทำการสำรวจปริมาณผลผลิตข้าวที่จะออก เพื่อวางแผนการผลิตและการทำตลาดเพื่อไม่มีปัญหา พร้อมกันนี้ เป้าหมายในการซื้อข้าวในลอตแรกอยู่ที่ 10-20 ตัน ส่วนราคาในการรับซื้อนั้นยังไม่สามารถบอกได้ แต่จะรับซื้ออย่าง
เป็นธรรมเพื่อประโยชน์ของชาวนา และรับซื้อในราคาตลาด โดยต้องรอให้ปริมาณผลผลิตออกมาก่อนถึงจะคาดการณ์ราคาซื้อขายได้ ส่วนราคาจำหน่ายนั้นจะประเมินจากราคาข้าวถุงในตลาด ซึ่งราคาจะต่ำกว่าราคาข้าวหอมมะลิอย่างแน่นอน
แต่จะสูงกว่าข้าวขาว “ราคาข้าวถุงในตลาดที่มีการจำหน่ายในตอนนี้ เช่น ราคาข้าวหอมมะลิ 5 ก.ก. อยู่ที่ประมาณ
250 บาท ข้าวหอมมะลิ 2 ก.ก. อยู่ที่ 110 บาท เป็นต้น ซึ่งก็จะนำมาพิจารณาเพื่อตั้งราคาจำหน่ายต่อไป”
นอกจากนี้ อคส. จะซื้อข้าวเพื่อทำข้าวถุงขายในประเทศแล้ว ยังมีเป้าหมายที่จะทำข้าวเพื่อการส่งออกอีกด้วย โดยเฉพาะข้าวพื้นนุ่ม โดยตลาดที่มีการหารือทั้งกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ คือ มาเลเซีย ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาว่าจะทำตลาดอย่างไร จะจำหน่ายในรูปแบบข้าวถุงได้หรือไม่ ต้องขอเวลาในการดูเรื่องนี้ก่อน
ส่วนตลาดอื่นๆ เช่น จีน ฮ่องกง ยังมองตลาดอยู่
นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า ขณะนี้ทางสมาคมมีเป้าหมายในการส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวนุ่มให้กับชาวนา รวมถึงพันธุ์ข้าว กข 85 ด้วย ซึ่งเริ่มทำการปลูกได้มา 2 ปีแล้ว โดยผลผลิต
เฉลี่ยต่อไร่อยู่ที่ 1 ตัน แต่ทั้งนี้ชาวนาก็ยังเพาะปลูกข้าวหอมปทุมอยู่ เนื่องจากเป็นข้าวที่ติดตลาดไปแล้ว โดยพื้นที่เพาะปลูกข้าวพื้นนุ่มอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง เช่น ชัยนาท กำแพงเพชร สิงห์บุรี อยุธยา ปทุมธานี นครปฐม สุพรรณบุรี เป็นต้น สำหรับราคาตลาดข้าวพื้นนุ่มอยู่ที่ 9,300-9,700 บาทต่อตันข้าวเปลือก ส่วนข้าวพื้นแข็งราคาตลาดอยู่ที่ 8,500-8,700 บาทต่อตันข้าวเปลือก ในความชื้นที่ 25% อย่างไรก็ตาม ข้าวทั้ง 3 สายพันธุ์ไม่ได้อยู่โครงการรัฐ โดยเฉพาะโครงการประกันรายได้
แต่ในอนาคตหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ข้าวชนิดดังกล่าวได้เข้าร่วมโครงการด้วย
อนึ่ง ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2564 มีการประชุมคณะกรรมการสมาคม
โรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้มีการรายงานสถานการณ์ข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยคณะกรรมการและสมาชิกแจ้งว่า สต็อกข้าวที่มีอยู่ในโรงสีภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสตอกข้าวของฤดูกาลผลิตปี 2563/64 ลดลงในรอบ10 ปี ทุกคนลดกำลังการผลิตลงถึงร้อยละ 50 และคาดว่าข้าวสำรองที่มีอยู่ในโรงสีหากเร่งสีแปรก็ไม่เกิน 20 วัน ข้าวจะหมดจากสต็อกของโรงสี
แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่าปริมาณข้าวมีน้อยมากราคาข้าวกลับไม่ขยับขึ้น ซึ่งจากการวิเคราะห์ของทุกฝ่ายน่าจะมาจากการที่ผู้ส่งออกข้าวต่างประเทศส่งออกล่าช้า เพราะข่าวการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และราคาค่าขนส่งที่สูงขึ้นมากทำให้การรับซื้อข้าวสารของผู้ส่งออกข้าวไปต่างประเทศรับซื้อข้าวจากโรงสีได้ในราคาไม่สูง จึงทำให้โรงสีไม่สามารถซื้อข้าวเปลือกในราคาสูงขึ้นได้
“หากไม่เกิดเหตุการณ์ปัญหาการส่งออกตึงตัว ทุกคนยังคาดการณ์กันว่าราคาข้าวเปลือกน่าจะมีราคาที่
14,000-15,000 บาทต่อตัน แต่ขณะนี้ราคาข้าวเปลือกที่โรงสีสามารถรับซื้อได้เพียง 12,500-12,800 บาทต่อตัน เท่านั้น คาดหวังว่าสถานการณ์จะเป็นปกติโดยเร็วซึ่งจะทำให้ราคาข้าวมีโอกาสขยับสูงขึ้นไปถึงราคาประกันรายได้ที่กำหนดไว้ได้
ส่วนข้าวเหนียวรายงานว่า ราคากำลังค่อยๆ ดีขึ้น แต่มีข่าวข้าวเหนียวลักลอบจากเพื่อนบ้านราคาถูกเข้ามา ประกอบกับข้าวเหนียวนาปรังในประเทศกำลังเตรียมเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วันข้างหน้า หากยังมีข้าวเหนียวลักลอบจาก
เพื่อนบ้านเข้ามาจะทำให้ราคาข้าวเหนียวตกต่ำมากกว่าที่ควรจะเป็น ผู้ค้าข้าวสารในตลาดการค้าข้าวเหนียวมีความกังวลว่าราคาจะต่ำลง ซึ่งจะเกิดการชะลอการรับซื้อข้าวสารจากโรงสี
รายงานข่าว ระบุว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
มีกำหนดการประชุมหารือร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเรื่อง “ทิศทางตลาดข้าวไทย ปี 64” ในวันที่ 24 มีนาคม 2564
ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
 
อินโดนีเซีย: การนำเข้าข้าวของอินโดนีเซียกลับมาเป็นที่สนใจ เนื่องจากรัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนที่จะนำเข้าถึง 1.5 ล้านตัน
สมาคมชาวนาอินโดนีเซียคัดค้านแผนการนำเข้าข้าวของรัฐบาลอินโดนีเซียจำนวน 1 – 1.5 ล้านตัน ในปีนี้
โดยประเทศใกล้จะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวและเกษตรกรต้องเผชิญหน้ากับราคาตกต่ำ
Henry Saragih ประธานสหภาพชาวนาอินโดนีเซีย (SPI) กล่าวว่า ราคาเฉลี่ยข้าวที่ Tuban จังหวัดชวาตะวันออกที่เป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิตของประเทศ อยู่ที่กิโลกรัมละ 3,700 รูเปียห์ (26 เซนต์) ต่ำกว่าราคาจัดซื้อของรัฐบาล (HPP) กิโลกรัมละ 4,200 รูเปียห์ตอนนี้ภูมิภาคต่างๆ ในประเทศกำลังเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยว ชาวนาจะต้องเผชิญหน้ากับราคาข้าวตกต่ำ ฤดูเก็บเกี่ยวอยู่ในช่วงต้นเดือนเมษายน ทั้งนี้ ข้อมูลจากสำนักสถิติอินโดนีเซีย (BPS) ราคาเฉลี่ยข้าวเปลือกเดือนกุมภาพันธ์กิโลกรัมละ 4,758 รูเปียห์ ลดลงร้อยละ 8.08 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนราคาค่อนข้างต่ำแต่ยังคงสูงกว่า HPP
การนำเข้าข้าวทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและสมาคมชาวนา โดยการนำเข้าข้าวเพื่อสำรองสำหรับ
คนยากจน ทำให้ราคาข้าวและการขาดแคลนข้าวลดลง แต่ก็ทำให้ชาวนาที่มีรายได้ต่ำไม่สามารถจำหน่ายข้าวในราคาที่สูง
ข้อมูลจาก BPS แผนการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าของปี 2562 จำนวน 444,508 ตัน อย่างไรก็ตาม
จากรายงานโครงการอาหารโลก (WFP) เดือนพฤษภาคม 2562 อ้างอิงข้อมูลปี 2561 อินโดนีเซียจัดหาข้าวส่วนใหญ่จากผลผลิตในประเทศ โดยอัตราส่วนการนำเข้าข้าวเพียงร้อยละ 6.2
แผนการนำเข้าข้าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่สินค้าข้าวคงคลัง และสนับสนุนโครงการช่วยเหลือสังคมของรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าอินโดนีเซียกล่าวในระหว่างการประชุมเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 ว่ารัฐบาลสั่งการให้หน่วยงานโลจิสติกส์ของรัฐ (Bulog) ทำการนำเข้าข้าวและถือเป็นความรับผิดชอบที่จะต้องดูแลคลังข้าว และระยะเวลาการจำหน่ายให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยจะประสานงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างไรก็ดี Coalition for Food Sovereignty (KRKP) และ National Farmer Movement (GPN) แสดงการสนับสนุนจุดยืนของสหภาพชาวนาอินโดนีเซีย เรียกร้องให้รัฐบาลเสริมสร้างอำนาจการสั่งซื้อของ Bulog เพื่อจัดหาข้าวจากชาวนาในประเทศแทนที่การนำเข้าข้าว เพื่อสร้างข้าวคงคลังของประเทศ โดยทั้ง 2 องค์กร กล่าวว่า ข้อสังเกตจากการเพาะปลูกข้าว
บนเกาะชวาเป็นไปด้วยดี ผลผลิตจากฤดูเก็บเกี่ยวเดือนเมษายน – พฤษภาคมน่าจะเพียงพอต่อความต้องการในประเทศ
ข้อมูลจาก BPS ศูนย์กลางการผลิตข้าวส่วนใหญ่อยู่บนเกาะชวา เมื่อปีที่ผ่านมา จังหวัดชวาตะวันออกผลิตข้าวได้ 9.94 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ ชวากลาง ชวาตะวันตก สุราเวสีใต้ และสุมาตราใต้ คาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวเปลือก
ในเดือนมกราคม – เดือนเมษายน 2564 จำนวน 25.37 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.88 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน
ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลด้านกลยุทธ์ราคาอาหาร (PIHPS) แสดงว่า ราคาข้าวเปลือกยังคงมีความผันผวน ราคาข้าวเฉลี่ยค่อนข้างคงที่อยู่ที่กิโลกรัมละ 11,800 รูเปียห์ โดย Felippa Ann Amanta หัวหน้าฝ่ายวิจัยศูนย์การศึกษานโยบายของอินโดนีเซีย (CIPS) เรียกร้องให้ Bulog รองรับผลผลิตข้าวในประเทศให้ได้มากที่สุด เนื่องจากผลผลิตในปีที่แล้วเพิ่มขึ้น กระทรวงเกษตรประมาณการการบริโภคข้าวในประเทศจะสูงถึง 7.48 ล้านตัน มีส่วนเกินจากปีที่แล้ว 6.75 ล้านตัน คาดว่าอุปทานข้าวจะสูงถึง 15.01 ล้านตัน
Sahat Marulitua Pasaribu นักวิจัยกระทรวงเกษตร กล่าวถึงแผนการนำเข้าข้าวคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบ
ต่อตลาด เนื่องจากมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกันชนและความช่วยเหลือทางสังคม เช่น กรณีเกิดภัยธรรมชาติ
วิเคราะห์ผลกระทบ โอกาส/แนวทางการปรับตัวของภาครัฐ/ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการไทย
รัฐบาลอินโดนีเซีย โดยกระทรวงการค้าวางแผนนำเข้าข้าวจำนวน 1 – 1.5 ล้านตัน ในปีนี้ โดยสั่งการให้หน่วยงานโลจิสติกส์ของรัฐ (Bulog) ทำการนำเข้าข้าว แผนการดังกล่าวทำให้มีหลายภาคส่วน โดยเฉพาะสหภาพชาวนาอินโดนีเซียออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการนำเข้าข้าวอีกครั้ง เนื่องจากใกล้เข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยว เกรงว่าราคาข้าว
ในประเทศจะตกต่ำและส่งผลกระทบต่อเกษตรผู้เพาะปลูก ส่วน Coalition for Food Sovereignty (KRKP) และ National Farmer Movement (GPN) แสดงการสนับสนุนจุดยืนของสหภาพชาวนาอินโดนีเซียเรียกร้องให้รัฐบาลเสริมสร้างอำนาจการสั่งซื้อของ Bulog เพื่อจัดหาข้าวจากชาวนา ในประเทศแทนที่การนำเข้าข้าว โดยทั้ง 2 องค์กร
กล่าวว่า ข้อสังเกตจากการเพาะปลูกข้าวบนเกาะชวาเป็นไปด้วยดี ผลผลิตจากฤดูเก็บเกี่ยวเดือนเมษายน – พฤษภาคมน่าจะเพียงพอต่อความต้องการในประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียชี้แจงการนำเข้าข้าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรองข้าว
สำหรับกรณีฉุกเฉินต่างๆ เช่น ภัยพิบัติ และโครงการช่วยเหลือทางสังคม เป็นต้น
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2564 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์จัดทำ MOU ว่าด้วยการค้าข้าวระหว่างกระทรวงพาณิชย์ของไทยกับกระทรวงการค้าของอินโดนีเซีย ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ โดยสาระสำคัญของ MOU ดังกล่าวระบุว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงจะซื้อขายข้าวปริมาณไม่เกิน 1 ล้านตันต่อปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การผลิตของ
ทั้งสองประเทศและระดับราคาข้าวในตลาดโลก โดย MOU ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 4 ปี
ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
 
บังกลาเทศ

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่ออายุร่าง MOU ค้าข้าวไทย-บังกลาเทศ ปีละ 1 ล้านตัน ออกไปอีก 5 ปี ตามที่รัฐบาลบังกลาเทศได้แจ้งความประสงค์กับรัฐบาลไทยขอต่ออายุ MOU ฉบับเดิม (ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 30 พ.ค.60) ซึ่งหมดอายุไปแล้วเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 โดยจัดทำร่าง MOU ฉบับใหม่ นำเข้าข้าวจากไทยสำรองไว้เพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารและรักษาเสถียรภาพราคาข้าวภายในประเทศ โดยมีแผนนำเข้าข้าวจากไทยประมาณ 5 แสนตัน ภายในเดือนกรกฎาคม 2563 - มิถุนายน 2564 เนื่องจากบังกลาเทศประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ในช่วงกลางปี 2563 ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรเสียหายจำนวนมาก และกล่าวว่า “เพื่อเป็นโอกาสที่ดีที่รัฐบาลบังกลาเทศพิจารณานำเข้าข้าวจากไทย และเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวไทยไปยังตลาดบังกลาเทศได้มากขึ้น ครม.จึงมีมติอนุมัติต่ออายุบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยการซื้อขายข้าวระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงอาหารแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ จากเดิมที่หมดอายุไปแล้วเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ขยายให้มีผลบังคับใช้นับจากวันลงนามเป็นเวลา 5 ปี จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2569 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ”
          ทั้งนี้ สาระสำคัญของ MOU ฉบับใหม่เหมือนกับฉบับเดิม โดยมีรายละเอียด คือ ไทยและบังกลาเทศตกลงที่จะ
ซื้อขายข้าวไทยทุกชนิดแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี ระหว่างปี พ.ศ. 2564 - 2569 ตามความต้องการของบังกลาเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์การผลิตของทั้งสองประเทศและระดับราคาในตลาดโลก โดยฝ่ายไทยมอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้ดำเนินการ ส่วนบังกลาเทศมอบหมายให้กรมอาหาร กระทรวงอาหาร
เป็นผู้ดำเนินการ
          ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์

 
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.22 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.58 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.41 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.62 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.17
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  9.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.28 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.30 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.73 บาท สูงขึ้นขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.64 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.04
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 301.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,276.19 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 303.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,303.63 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 27.44 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน  ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 550.44 เซนต์ (6,759.21 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 551.48 เซนต์(6,760.25 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 1.04 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.163 ล้านไร่ ผลผลิต 30.108 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 3.286 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.918 ล้านไร่ ผลผลิต 28.999 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.252 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75 ร้อยละ 3.82 และร้อยละ 1.05 ตามลำดับ โดยเดือนมีนาคม 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.74 ล้านตัน (ร้อยละ 22.39 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.40 ล้านตัน (ร้อยละ 61.13 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ความต้องการใช้หัวมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะมันเส้น ส่งผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดอยู่ในเกณฑ์สูงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.14 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.77 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.95 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.03
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.09 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.75 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 263 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,089 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (8,025 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลังสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 483 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,855 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (14,739 บาทต่อตัน)

 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2564 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมีนาคมจะมีประมาณ 1.438 
ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.259 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.015 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.183  ล้านตัน ของเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 41.67 และร้อยละ 41.53 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.61 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 5.49 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.19                                                
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 33.25 บาท ลดลงจาก กก.ละ 34.85 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.59        
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
 
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,145.37 ดอลลาร์มาเลเซีย (31.59 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 4,150.60 ดอลลาร์มาเลเซีย (31.49 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.13  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,167.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36.41 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,160.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.89 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.65
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          จากความร่วมมือระหว่างโรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อยในการจัดเก็บผลผลิตอ้อยสดที่มีคุณภาพหีบสกัดเป็นน้ำตาล ทำให้มีสัดส่วนอ้อยสดเข้าหีบ 73.64% ของปริมาณอ้อยรวมและอ้อยไฟไหม้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเหลือ 26.36% จากปีก่อนที่มีอ้อยไฟไหม้ 49.80% และโรงงานได้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างจริงจัง ทำให้
ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยิลด์) โดยเฉลี่ยปรับตัวดีขึ้นหรืออยู่ที่ 113.28 กิโลกรัมต่อตันอ้อย คิดเป็นผลผลิตน้ำตาลโดยรวมได้ 75.07 ล้านกระสอบ
          โรงงานน้ำตาลประเมินว่าสิ้นเดือน มีนาคมนี้ จะสามารถประกาศปิดหีบอ้อยประจำฤดูการผลิตนี้ได้
โดยระหว่างนี้จะเร่งสำรวจอ้อยค้างไร่เพื่อป้องกันอ้อยที่ยังหลงเหลือ เนื่องจากมีความกังวลต่อภัยแล้งที่อาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตอ้อยเข้าหีบในฤดูการผลิต 2564/65 ขณะที่คุณภาพอ้อยเข้าหีบดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปีการผลิต 2563/64 เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่ร่วมกันจัดส่งอ้อยสด เพื่อลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ ส่งผลทำให้ยิลด์น้ำตาลต่อตันอ้อยสูงขึ้น แม้ปีนี้ปริมาณอ้อยจะลดลงจากปีก่อน และขณะนี้หลายโรงงานได้ทยอยปิดหีบอ้อยแล้ว คาดว่าไม่เกินสิ้นเดือน มี.ค.นี้ จะประกาศปิดหีบอ้อยประจำฤดูการผลิตปี 2563/64 ได้


2. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
         
ไม่มีรายงาน



 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 17.94 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.86 บาท ในสัปดาห์สัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.45
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ  
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,417.56 เซนต์ (16.25 บาท/กก.)สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,413.60 เซนต์ (16.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.28
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 401.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.51 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 404.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.96
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 55.67 เซนต์ (38.27 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 54.43 เซนต์ (37.12 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.28

 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.23 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.32
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,140.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,148.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.05 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75 แต่เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,041.80 ดอลลาร์สหรัฐ (32.04 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,049.60 ดอลลาร์สหรัฐ (32.03 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74 แต่เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,205.40 ดอลลาร์สหรัฐ (37.07 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตัน 1,214.60 ดอลลาร์สหรัฐ (37.06 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 แต่เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 877.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.00 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตัน 884.60 ดอลลาร์สหรัฐ (26.99 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 แต่เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,231.60 ดอลลาร์สหรัฐ (37.88 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,241.20 ดอลลาร์สหรัฐ (37.87 บาท/กิโลกรัม) สัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 แต่เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.67 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.94 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

   1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)

    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 81.88 เซนต์(กิโลกรัมละ 56.30 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 86.06 เซนต์ (กิโลกรัม 58.71 บาท) ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.86 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 2.41 บาท)

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,819 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,517 บาท สูงขึ้นจาก 1, 489 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 1.88 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,517 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน  
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 944 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา  


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  75.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 76.07 คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 73.68 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.07 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 77.45 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.48 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,800 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.58 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 274 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 302 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 284 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 263 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 250 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 341 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 342 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 347 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 362 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 311 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 305 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 97.65 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 97.62 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.21 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.96 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.35 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 105.43 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 76.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 76.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.35 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.85 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา 

 
 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 22 – 28 มีนาคม 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.32 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 75.73 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.41 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 152.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 150.14 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.86 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาเฉลี่ยสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 147.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 146.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.54 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.53 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.20 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.46 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.26 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา